วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พิฆาตแผนจักรกลเขมือบโลก "I, Robot" และ บุรุษสองศตวรรษ "Bicentennial Man"

______เห็นข่าวการแข่งขันหุ่นยนต์ของเยาชนไทยแล้วรู้ปลื้มแทนเพราะไทยสามารถเอาชนะแชมป์เก่าอย่างประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จหวังว่าปีต่อ ๆ ไปไทยจะพัฒนาฝีมือเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือการแข่งขันหุ่นยนต์ ในขณะเดียวกัน ระบบควบคุมหุ่นยนต์ก็ถูกพันฒนาให้ก้าวหน้าเพิ่มขึ้นไปอีกการแลกเปลี่ยนความคิดเทคโนโลยีในการควบคุมนั้นเปิดกว้างเสมอต่อไปเราคงได้เห็นหุ่นยนต์มีสมองกลควบคุมตัวเองไปสู่หุ่นยนต์ใช้งานในอุดมคติได้สำเร็จ ยิ่งทำให้นึกถึงผลงานเขียนของ ไอแซคอาซิมอฟ (Isaac Asimov) ชาวรัสเซี่ยน เป็นหนึ่งในมรดกงานเขียนเอกของโลกให้นิยามเกี่ยวกับหุ่นยนต์ไว้เป็นเวลานาน อาซิมอฟถนัดเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์แต่ก็มีแนวอื่นที่น่าสนใจ ที่จะนำเสนอผมขอยกสองเรื่องเอก I, Robot และ Bicentennial Man ไม่ใช่เพราะสองเรื่องนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่อย่างใดแต่เป็นเพราะเป็นผลงานสร้างที่ล้ำจินตนาการเกินไปจากอาซิมอฟผู้ให้กำเนิดมาก ทั้งสองเรื่องเป็นผลงานเรื่องสั้นแต่หนังทั้งสองเรื่องกลับบเพิ่มจินตนาการได้ยืดยาวกว่ามากจนน่าจะมองออกได้เลยว่าค่อนข้างจะวิบัติแต่จะว่าไปถ้าจะเทียบกับยุคสมัยแล้วผมยอมรับได้ทั้งสองเรื่อง โดยเฉพาะ Bicentennial Man ที่ผมเคยอ่านในฉบับแปล "มนุษย์สองร้อยปี" ที่ออกจะสั้นมากแต่ได้ให้กฏหลัก 10 ข้อของความเป็นหุ่นยนต์ว่ามีกฎบัญญัติอะไรบ้าง ปัจจุบันนักประดิษฐ์ยังคงยึดถืออยู่น่าแปลกที่บัญญัติดังกล่าวไม่ได้ปรากฏในหนังเลยจะมีแค่หลักการเล็กน้อยอย่าง หุ่นยนต์ฟังคำสั่งรับใช้เป็นมิตรห้ามทำร้ายมนุษย์ บัญญัติเดียวกันก็ใช้กับ I, Robot ซึ่งก็ไม่ได้กล่าวถึงเช่นกันเพียงแต่ I, Robot จริงแล้วเป็นเรื่องราวของการฝืนบัญญัติของหุ่นตัวหนึ่งมีความสับสนระหว่างรับคำสั่งแต่เป็นเหตุทำให้เจ้านายเสียชีวิตระหว่างทำเหมืองหุ่นจึงต้องถูกนำมาขึ้นศาลยุติธรรม เจ้าหน้าที่สปูเนอร์ (วิลสมิทธ์) ในเวอร์ชั่นดัดแปลงเป็นหนังแสดงบทแอคชั่นได้เหนือชั้นเพิ่มเนื้อหาให้หุ่นเป็นถึงฆาตกรอันตรายและเลยเถิดขนาดหุ่นจะยึดครองระบบควบคุมทั้งหมดของเมืองขยายผลถึงครอบครองโลก ทีผมว่าวิบัติเพราะอาซิมอฟไม่ได้มีแนวความคิดที่จะให้หุ่นยนต์ครอบครองโลกเลย หนังอีกเรื่อง Bicentennial Man เป็นหนังที่ผมชอบมากกว่าเพราะแนวความคิดเดิมของอาซิมอฟยังคงถูกสนองตอบจนกระทั่งจบเรื่อง เรื่องของหุ่นยนต์รับใช้ตระกูลมาร์ตินนามแอนดริว ที่มีความซื่อสัตย์รับใช้จนไปสู่สายใยความผูกพันธ์บังเกิดจินตนาการอารมณ์ความรู้สึกที่ออกจะเลยเถิดไกลขนาดขยายเป็นอารมณ์พิศวาส ซึ่งในความเห็นของผมอารมณ์นี้ถูกปลูกฝังโดยมนุษย์นั่นแหล่ะ ไม่ว่าจะเป็น ริชาร์ดมาติน (แซมนีล) อามานด้ามาร์ติน สุดท้ายก็พอร์เทีย (เอ็มเบทเดวิดซ์) สะสมอารมณ์ที่ช่วยพัฒนาสมองกลไปสู่จุดสูงสุดประมวลผลแล้วแปลค่าออกมาเป็น "ความรัก" (เห็นไหมล่ะว่าเลยเถิดไปใหญ่จนวิบัติจริง ๆ ด้วย) สิ่งที่แอนดริวใฝ่ฝันคือความเท่าเทียมมนุษย์ที่หมายถึง เขาจะได้รับการยอมรับให้เป็นมนุษย์ นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะแอนดริวประกอบด้วยสิ่งที่ฝืนกฏธรรมชาติทั้งมวล ที่สำคัญโดยหลักศาสนาคริสต์ แอนดริวไม่ได้เกิดในครรถ์มารดาอย่างที่ไบเบิ้ลกำหนด ด้วยความที่แอนดริวเป็นหุ่นยนต์ไม่สามารถจะเป็นประชาชนพลเมืองได้ เขาร่วมมือกับวิศวกรออกแบบอวัยวะเทียม รูเพริตเบินส์ (โอลิเวอร์แพลต) สร้างอวัยะเทียมที่มีอายุขัยเสื่อมลงได้เขาสร้างแม้แต่เลือดสีแดงให้ไหลเวียนในร่างกายจนสุดท้ายแอนดริวก็มีจุดจบอย่างปุถุชน หนังให้เกียรติอาซิมอฟโดยให้ประกาศแอนดริวเป็นพลเมืองโดยสมบูรณ์ ท่าทางพื้นที่จะไม่พอต้องรีบสรุปแล้ว สื่อในหนังส่วนใหญ่จะมองหุ่นไปในแนวทางเดียวกันหมดคือ หุ่นยนต์ต้องการความเป็นมนุษย์ต้องการครอบครองอาณาเขตเป็นของตนเอง ต้องการได้รับความยอมรับในสังคม "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม" คงเอามาใช้กับหุ่นยนต์ได้ต่อไปในอนาคต ส่วนหุ่นจะได้ครอบครองโลกหรือไม่ ความจริงย่อมเป็นไปได้เสมอ ในเมื่อมนุษย์มีอิสระในความคิดและการกระทำมากเกินไป แรงงานและชีวิตมนุษย์ก็ด้อยความสำคัญลงทุกวัน แต่หุ่นกลับมีความสำคัญมากขึ้น มันดูแย่ ๆ ยังไงก็ไม่รู้ หนังที่นำเสนอผมยกให้เป็นหนังชั้นดีควรค่าแก่การเทียบเคียงจิตใจทั้งแท้และเทียม

ไม่มีความคิดเห็น: